ภัคศวรรษ รักไทย...เรื่องและภาพ
ผลงานรางวัลเนื้อหาและภาพดีเด่น
Youth Bloggers รุ่นที่ ๑๘
โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง
๑๗ ปี
เเล้วที่ผมเติบโตขึ้นมาในจังหวัดเล็ก ๆ นี้ ระนอง “เมืองฝนเเปดเเดดสี่” ของประเทศไทย
ที่ผ่านมา
วัน ๆ ผมเอาเเต่ขี่มอเตอร์ไซค์ไปมาเที่ยวโน่นเที่ยวนี่ บ่อยครั้งที่ผมมักจะขับรถผ่านบ้านเก่า
ๆที่ตั้งอยู่บนถนนดับคดี ข้างศาลประจำจังหวัดระนอง ทุกครั้งที่ผ่าน ผมไม่ได้สนใจเท่าไร
เนื่องจากคิดเสมอว่ามันเป็นเเค่บ้านเก่าธรรมดาหลังหนึ่ง
จนกระทั่งเมื่อวันที่ผ่านมานี้เอง
ผมมีโอกาสได้ร่วมไปทัศนศึกษาในสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองระนอง ที่มีชื่อว่า
"บ้านร้อยปีเทียนสือ" ได้ยินชื่อตอนแรก ผมไม่ได้คิดอะไร เพราะในใจนึกอยู่ว่าน่าจะต้องเป็นจวนผู้ว่า
ฯ อย่างเเน่นอน
แต่เมื่อมาถึงบ้านร้อยปีเทียนสือเข้าจริง ๆ ผมก็ต้องตกใจอยู่ไม่น้อยเลย
เพราะว่ามันคือบ้านเก่า ๆ หลังที่ผมขี่รถมอเตอร์ไซค์ผ่านเกือบทุกวัน
มองดูจากภายนอกเเล้ว
มันคือบ้านที่สร้างขึ้นมาจากไม้ มีการออกแบบบ้านรูปทรงแปลก ๆ
ไม่ค่อยเหมือนกับบ้านทรงไทยทั่วไป ทั้งลวดลายพื้น ลักษณะขอบหน้าต่าง รวมถึงของตกแต่งในบ้านเช่น
เก้าอี้ สิ่งของต่าง ๆ ดูเเปลกตาไปหมด
ผมเก็บความสงสัยนี้
ไปถามลุงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ ชื่อ “ลุงศุภ” (ศุภพรพงศ์ชัย พรพงษ์) ว่า “คุณลุงครับ
ผมสงสัยครับ ว่าเดิมทีใครเป็นเจ้าของที่นี้"
ลุงศุภบอกผมว่า
“บ้านหลังนี้เดิมทีเป็นบ้านของท่านเทียนสือ หลานเขยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์
บ้านหลังนี้มีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีอีกนะ"
“เเล้วทำไมถึงสร้างบ้านทรงแปลกจังเลยครับ
ดูอย่างหน้าต่างก็เเปลก ขอบหน้าต่างก็แปลก แถมยังทำเหล็กดัดที่หน้าต่างเสียหนา ต่างจากบ้านคนอื่นทั่วไปตั้งหลายเท่า"
ลุงศุภตอบว่า “บ้านหลังนี้เดิมทีมีชื่อว่า อั้งม้อเหลา
เทียนสือ “อั้ง” หมายถึงสีเเดง “ม้อ” หมายถึงผม เเละ “เหลา” หมายถึงบ้าน แปลรวมเเล้วคือ
“บ้านหัวเเดง” หมายถึงบ้านแบบฝรั่งนั่นเอง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านหลังนี้มีลักษณะต่างจากบ้านทั่วไป
ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมส่วนต่าง ๆ ของบ้าน สร้างเเปลก ๆ ก็คือในสมัยก่อนมันไม่มีธนาคาร
บ้านหลังนี้จึงเป็นเหมือนกับธนาคาร จึงต้องสร้างเหล็กดัดที่หน้าต่างให้หนาเป็นพิเศษ
หนูลองมองไปที่ขอบหน้าต่างสิ"
ผมมองไปที่ขอบหน้าต่าง
“หนูเห็นเป็นอะไร”
ลุงศุภถาม
“ไม่รู้สิครับ
มันค่อนข้างจะเเปลกในความคิดของผม” ผมตอบกลับไป พร้อมทำสีหน้างง ๆ
ลุงศุภจึงบอกผมว่า
“ถ้าหนูมองตรงขอบหน้าต่างให้ดี ๆ หนูจะเห็นว่ามันคือหมวกของทหารคลุมอยู่
ตรงฐานของหน้าต่างที่เป็นหยักเหลี่ยม
ๆ ยังบอกถึงยศของทหารเหล่านั้นด้วย เเละสิ่งที่คลุมอยู่นั้นคือบล็อกสี่เหลี่ยม
ซึ่งบล็อกเหล่านั้นหมายถึงก้อนทอง นั่นเเสดงให้เห็นถึงการคุ้มกันทอง
ตามหลักฮวงจุ้ยของจีนเเละถ้าหนูมองตรงพื้นดีๆ หนูจะเห็นพื้นเป็นรูปข้าวหลามตัดทั่วพื้นบ้าน
นั้นเป็นสัญญลักษณ์ของทองที่มีอยู่มากมายนั้นเอง"
ลุงศุภตอบผมว่า “จริง ๆ เเล้วมันถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนก้อนทองคำสมัยก่อนของจีน”
คำถามในหัวของผมจบลง
พร้อมกับหมดเวลาที่จะให้ผมได้สงสัยต่อเเล้วเหมือนกัน เพราะผมต้องไปทัศนศึกษาที่อื่นต่อ
เเต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมรู้ มันยังเป็นเพียงเเค่ความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น เกี่ยวกับ
“บ้านร้อยปีเทียนสือ" ต้องมีเรื่องราวอีกมากมายที่ผมยังไม่รู้
เเละถ้าผมมีเวลาว่าง
ผมจะต้องกลับมาที่นี่อีกเเน่นอน.
No comments:
Post a Comment